ประสิทธิผลของการกดมดลูกส่วนล่างเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
กมล ศรีจันทึก, วันชัย จันทราพิทักษ์*, เรณู วัฒนเหลืองอรุณ
Department of Obstetrics and Gynecology, Charoenkrung Pracharak Hospital, Bangkok 10120, Thailand. Phone 0-2289-7000, 0-2689-0528, Mobile: 081-585-1588; E-mail: wanchaiinno@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการกดมดลูกส่วนล่างในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกวัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบทดลอง ณ กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ระหว่าง กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2553 ศึกษาในมารดาที่ตั้งครรภ์เดี่ยวอายุครรภ์ 28-42 สัปดาห์ ไม่มีโรคประจำตัว คลอดปกติทางช่องคลอดจำนวน 686 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่มเลือกเป็นกลุ่มควบคุม 343 ราย และกลุ่มทดลอง 343 ราย ทั้งกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองได้รับการดูแลการคลอดแบบปกติ คือ ได้รับ oxytocin ก่อนคลอดและหลังคลอดหนีบ และตัดสายสะดือภายใน 3 นาทีหลังทารกคลอดทำคลอดรกแบบ controlled cord traction พร้อมทั้งคลึงมดลูกทันทีหลังรกคลอด ส่วนกลุ่มทดลองเพิ่มการกดมดลูกส่วนล่างทางหน้าท้องนาน 10 นาที วัดและบันทึกปริมาณเลือดที่สูญเสียหลังคลอด 2 ชั่วโมง ทั้งสองกลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาประเมินผลผลการศึกษา: มารดาหลังคลอดปกติ 686 ราย ถูกคัดออกเหลือ 675 ราย โดยกลุ่มควบคุมถูกคัดออก 5 รายจากสาเหตุรกค้าง ส่วนกลุ่มทดลองถูกคัดออก 4 ราย เนื่องจากรกค้าง 2 ราย ผีเย็บฉีกขาดเป็นบริเวณกว้าง 1 ราย และเกิดก้อนเลือดคั่งในช่องทางคลอด 1 ราย ในกลุ่มทดลองมีการตกเลือดหลังคลอดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งได้รับการกดมดลูกส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2.9% vs. 6.8%; relative risk 0.43, 95% confidence interval 0.21-0.90, p = 0.02) กลุ่มทดลองสามารถลดการเสียเลือดลงได้ 29.3 มิลลิลิตร (289.70 ± 179.53 มิลลิลิตร vs.260.44 ± 116.30 มิลลิลิตร, p = 0.012)สรุป: การกดมดลูกส่วนล่างสามารถป้องกันการตกเลือดหลังคลอด และลดจำนวนเลือดที่สูญเสียหลังคลอดลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นวิธีที่กระทำได้ง่าย ปลอดภัย ไม่ต้องใช้ยาสลบ และไม่มีค่าใช้จ่าย นับเป็นนวัตกรรมด้านการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด สามารถลดความเสี่ยง ลดอันตรายที่อาจก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพ และการสูญเสียชีวิตลงได้
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2554, June ปีที่: 94 ฉบับที่ 6 หน้า 649-656
คำสำคัญ
Postpartum hemorrhage, Active management of third stage of labor, Lower uterine segment compression