อุบัติการณ์ของการติดเชื้อตำแหน่งหมุดตรึงกระดูก: การเปรียบเทียบระหว่างยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะไซด์กับการเปลี่ยนแผลแบบแห้งในผู้ป่วยกระดูกทิเบียหักแบบเปิด
บุญสิน ตั้งตระกูลวนิช*, วราห์ ยืนยงวิวัฒน์
Department of Orthopaedic Surgery and Physical Medicine, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand. Fax: 074-212-915; E-mail: boonsin.b@psu.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การติดเชื้อตำแหน่งหมุดตรึงกระดูก (pin-site infection) เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่เป็นปัญหาของการตรึงกระดูกภายนอก (external fixator) การศึกษานี้มุ่งหมายศึกษาประสิทธิผลของยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะไซด์ เปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแผลแบบแห้ง (dry dressing) ในการป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งหมุดตรึงกระดูกวัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม (randomized control study) ในผู้ป่วยกระดูกทิเบียหัก แบบเปิด จำนวน 30 ราย แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีสุ่ม กลุ่มแรกทำแผลด้วยยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะไซด์ และกลุ่มที่สอง ทำแผลด้วยผ้าก๊อซแห้ง กลุ่มละ 15 คน ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาโดยวิธีผ่าตัดล้างแผลและตรึงกระดูกภายนอกให้การวินิจฉัยมีการติดเชื้อรอบหมุดตรึงกระดูกเมื่อมีการอักเสบ หนอง หรือ การละลาย (osteolysis) ของกระดูกรอบหมุดตรึงกระดูกผลการศึกษา: ผู้ป่วย 7 ราย (46.7%) มีการติดเชื้อรอบหมุดตรึงในกลุ่มทำแผลด้วยยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะไซด์ และ 6 ราย (40.0%) ในกลุ่มเปลี่ยนแผลแบบแห้ง โดยทั้งสองกลุ่มมีความรุนแรงของการติดเชื้อไม่แตกต่างกันสรุป: อุบัติการณ์การติดเชื้อตำแหน่งหมุดตรึงกระดูกของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.97) ดังนั้น สนับสนุนให้ใช้ได้ทั้งยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะไซด์ และการเปลี่ยนแผลแบบแห้ง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2554, May ปีที่: 94 ฉบับที่ 5 หน้า 566-569
คำสำคัญ
Silver sulfadiazine, Open tibial fracture, Pin-site infection