การศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นปิดแผลตาข่ายเงินเทียบกับซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนครีมสำหรับการรักษาแผลกดทับ
จุฬาพร กังวางพุ่ม, นฤมล ทองอิน, วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์, อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช*, อรวรรณ ชาญสันติDepartment of Surgery, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, 2 Prannok Rd, Bangkoknoi, Bangkok 10700, Thailand. Phone: 0-2419-8002, Fax: 0-2412-8109; E-mail: apirag@gmail.com
บทคัดย่อ
บาดแผลกดทับเป็นปัญหาที่พบบ่อย การรักษานอกจากจะต้องทำให้ผู้ป่วยมีร่างกายสมบูรณ์ขึ้นแล้วการรักษาการติดเชื้อ และกระตุ้นให้มีการหายของแผลเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้แผลหาย บาดแผลกดทับอาจจะมีลักษณะเป็นหลุมหรือช่องทางแคบ ๆ วัสดุปิดแผลตาข่ายเงินสามารถจะวางในพื้นที่แคบ ๆ นี้ได้ดีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของตาข่ายเงินเทียบกับชิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนครีมในการรักษาบาดแผลกดทับ ทำการทดลองในผู้ป่วยมีบาดแผลกดทับระดับ 3-4 จำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ทำแผลโดยตาข่ายจะเปลี่ยนแผล 3 วันครั้ง กลุ่มที่ควบคุมทำแผลวันละ 2 ครั้ง ติดตามผลการรักษาทุก 2 สัปดาห์ เป็นเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ พบว่าบาดแผลในกลุ่มทดลองมีอัตราลดขนาดของแผลดีกว่ากลุ่มควบคุม และการเปลี่ยนแปลงของแผลดีขึ้นโดยวัดจาก PUSH SCORE แต่การเปลี่ยนแปลงทั้งสองอย่างนี้ไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่สำคัญพบว่าในกลุ่มทดลองมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยสรุปตาข่ายเงินเป็นวัสดุทำแผลชนิดหนึ่งที่สามารถจะใช้รักษาบาดแผลกดทับได้ดี
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2554, May
ปีที่: 94 ฉบับที่ 5 หน้า 559-565
คำสำคัญ
Pressure ulcer, Silver dressing, Wound