ประสิทธิภาพของการฉีดยาระงับปวดข้างคอมดลูกเปรียบเทียบกับการฉีดมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำระหว่างการขูดมดลูก: การศึกษาแบบสุ่ม
ปริศนา พานิชกุล*, ปิยะธิดา ทองรอง, พนิดา จารุเวฬ
Department of Obstetrics and Gynecology, Phramongkutklao Hospital, Bangkok 10400, Thailand. Phone: 08-7080-6659, 0-2354-7600 ext. 94061, Fax: 0-2354-9084; E-mail: boonsuki@gmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกยังเป็นปัญหาที่สำคัญและพบบ่อยในสตรี การขูดมดลูกเป็นหัตถการที่กระทำบ่อยที่สุดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ทั้ง fractional curettage, evacuation and curettage และ dilatation and curettage โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและ/หรือเพื่อรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก การระงับปวดระหว่างทำหัตถการ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้การฉีดมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำ (intravenous morphine) ส่วนการฉีดยาระงับปวดข้างคอมดลูก (paracervical block) ทำให้สามารถลดความเจ็บปวดในการทำหัตถการบริเวณปากมดลูกและภายในโพรงมดลูกได้เช่นกันวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความเจ็บปวดและอาการข้างเคียงระหว่างและหลังการขูดมดลูกในผู้ป่วยที่ได้รับวิธีฉีดยาชาระงับปวดข้างคอมดลูก เปรียบเทียบกับการฉีดมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำวัสดุและวิธีการ: สตรีที่มีปัญหาเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกหรือแท้งบุตรที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการขูดมดลูกโดยสุ่มตัวอย่างชนิด simple randomization เป็นกลุ่มที่ได้รับฉีดมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำ 32 ราย และกลุ่มที่ได้รับการฉีดยาชาระงับปวดข้างคอมดลูก 32 ราย ประเมินความเจ็บปวดโดยใช้ Numerical rating scale.ผลการศึกษา: สตรีที่ได้รับการขูดมดลูกมีค่ามัธยฐานความเจ็บปวดในระหว่างการขูดมดลูกเท่ากับ 7.5 และ 6 (p = 0.103) หลังการขูดมดลูกเสร็จทันทีเท่ากับ 3 และ 3 (p = 0.822) 30 นาที หลังการขูดมดลูกเท่ากับ 1 และ 1 (p = 0.206) ในกลุ่มที่ได้รับการฉีดมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำ และกลุ่มที่ได้รับการฉีดยาชาระงับปวดข้างคอมดลูกตามลำดับสรุป: คะแนนความปวดระหว่างขูดมดลูกในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาชาระงับปวดข้างคอมดลูก ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำซึ่งอาจใช้เป็นทางหนึ่งสำหรับวิธีระงับปวดในการขูดมดลูกได้
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2554, April ปีที่: 94 ฉบับที่ 4 หน้า 403-407
คำสำคัญ
Abnormal uterine bleeding, Paracervical block, morphine