เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการบรรเทาปวดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังระหว่าง continuous infusion morphine และ intravenous patient controlled analgesia morphine ตึกศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
ธนากร จิรชวาลา
Department of Orthopedics, Roi - Et Hospital
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: อาการปวดหลังผ่าตัด เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมีความกลัวและกังวลมากเป็นอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาล และยังไม่เคยมีรายงานการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการบรรเทาปวดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังระหว่าง continuous infusion morphine และ intravenous patient controlled analgesia morphineวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการบรรเทาปวดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับความปวด ปริมาณยาบรรเทาปวด ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นและระยะเวลาอยู่โรงพยาบาลระหว่าง continuous infusion morphine และ intravenous patient controlled analgesia morphineวิธีการศึกษา: ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง 60 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เท่ากันโดยการสุ่ม ผู้ป่วยทุกคนได้รับการระงับความรู้สึกด้วยเทคนิคเดียวกัน และการบรรเทาปวดหลังผ่าตัดกลุ่ม continuous infusion morphine ได้รับมอร์ฟีน 0.01 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และกลุ่ม intravenous patient controlled analgesia morphine ได้รับมอร์ฟีน 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ประเมินผลการระงับปวดจากค่าคะแนนความปวด (NRS) ขณะพัก (NRS-R) และขณะเคลื่อนไหว/ไอ (NRS-M) ปริมาณยาแก้ปวดที่ผู้ป่วยได้รับและผลข้างเคียงที่เวลา 6 และ 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วยผลการศึกษา: ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลการผ่าตัด ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดขณะพักและเคลื่อนไหว/ไอ ที่เวลา 6 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ผู้ป่วยในกลุ่ม IV PCA ต้องการยาระงับปวด morphine ที่เวลา 6 ชั่วโมง ในขนาดยาที่สูงกว่ากลุ่ม IV continuous morphine แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า p <0.05) และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มระหว่าง 6 และ 24 ชั่วโมงแรก ไม่พบว่ามีทั้งสองกลุ่ม กลุ่มละ 2 ราย มี Nausea/Vomiting score = 2 ที่เวลา 24 ชั่วโมง และไม่พบว่าความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของอาการคลื่นไส้/อาเจียนทั้งสองช่วงเวลา ส่วนระยะเวลาที่ผู้ป่วยอยู่รักษาในโรงพยาบาล มีค่าไม่แตกต่างกัน
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2552, May-August ปีที่: 17 ฉบับที่ 2 หน้า 277-282
คำสำคัญ
postoperative pain, อาการปวดหลังผ่าตัด, Spinal surgery, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, Numerical rating scale, การประเมินความปวดโดย NRS