การเปรียบเทียบการเริ่มรับประทานอาหารแบบเร็วกับแบบที่ปฏิบัติกันมาหลังการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ของโรงพยาบาลชลบุรี
อรอนงค์ นุ่มเจริญ
Department of Obstetries & Gynecology, Chonburi Hospital, Chonburi 20000
บทคัดย่อ
                การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ Randomized controlled trial กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โดยมีข้อบ่งชี้ทางสูติศาสตร์และเป็นการนัดผ่าตัด ระงับความรู้สึก โดยวิธี spinal anesthesia เป็นการผ่าตัดในช่วงเวลา 08.00 น. -12.00 น. จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้ 172 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (early feeding) และกลุ่มควบคุม (traditional group) กลุ่มละ 86 คน กลุ่มทดลองเริ่มรับประทานอาหารเหลวมื้อแรก เมื่อหลังผ่าตัด 8 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มควบคุมเริ่มรับประทานอาหารเหลวหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง ประเมินความสามารถในการรับประทานอาหารหลังผ่าตัดจากการทำงานของลำไส้ พบว่าทั้งสองกลุ่มสามารถรับประทานอาหารได้ดี ภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินอาหารไม่แตกต่างกันและมีเพียงอาการที่เล็กน้อย คะแนนความพึงพอใจในกลุ่มทดลองเท่ากับ 818.0 คะแนน (87.02%) และกลุ่มควบคุมเท่ากับ 541.4 คะแนน (57.59%) พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P = 0.001)
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลชลบุรี ปี 2548, May-August ปีที่: 30 ฉบับที่ 2 หน้า 75-80
คำสำคัญ
Cesarean section, Early feeding