คุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ของคลินิกศูนย์รวมใจ โรงพยาบาลตาคลี
สันติ นวนพรัตน์สกุล
Takhli Hospital, Nakornsawan
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต พฤติกรรมการดูแลตนเอง ความสามารถในการดูแลตนเอง และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์สถานที่ศึกษา: งานคลินิกพิเศษ โรงพยาบาลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ที่มาอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ที่มารับบริการ ที่คลินิกศูนย์รวมใจ โรงพยาบาลตาคลี เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2550 สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 97 คนวิธีการศึกษา: สอบถามผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เกณฑ์การประเมินแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย นำเสนอข้อมูลทั่วไปเป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและความสามารถในการดูแลตนเอง โดยการทดสอบ ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ผลการศึกษา: คุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ความสามารถในการดูแลตนเองอยู่ในระดับมาก ความต้องการสนับสนุนจากทางราชการ ชุมชน และสังคมอยู่ในระดับปานกลาง การได้รับการสนับสนุนทางสังคม โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ได้แก่ ความต้องการสนับสนุนจากทางราชการ ชุมชนและสังคม การได้รับการสนับสนุนทางสังคม อายุ สถานภาพการสมรส และการเปิดเผยผลเลือดการติดเชื้อกับครอบครัว ญาติ เพื่อนวิจารณ์และสรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าคุณภาพชีวิตโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับน้อย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ระดับการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า รายได้ต่ำจึงเกิดความวิตกกังวล ต่อภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากเกิดการเจ็บป่วย ซึ่งมีผลต่อระดับคุณภาพชีวิต พฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ความต้องการสนับสนุนจากทางราชการ ชุมชนและสังคม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง การได้รับการสนับสนุนทางสังคม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนจัดบริการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลรักษา พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
ที่มา
สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร ปี 2550, September-December ปีที่: 4 ฉบับที่ 3 หน้า 656-671
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, HIV/AIDS patient, ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์