เปรียบเทียบผลการใช้ยาดมสลบและการใช้ยาชาเฉพาะที่ในการรักษาไส้เลื่อนขาหนีบ
กฤษณา คลังทรัพย์, เอกชัย ผดุงภักดีวงศ์*
Prankratai Hospital, Kamphaeng Phet
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบด้วยวิธีไร้แรงตึงในผู้ป่วยที่ใช้ยาดมสลบ กับผู้ป่วยที่ใช้ยาชาเฉพาะที่สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลพรานกระต่ายรูปแบบการวิจัย: การศึกษาไปข้างหน้า แบบแรนดอมไมส์กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 42 ราย ที่เข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบไม่ฉุกเฉิน และไม่มีภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2546 ถึง 30 ธันวาคม 2548วิธีการศึกษา: แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่ใช้ยาดมสลบ 21 ราย และใช้ยาชาเฉพาะที่ 21 ราย ผู้ป่วยทุกรายผ่าตัดไส้เลื่อนด้วยวิธีไร้แรงดึง (tension free technique) ข้อมูลที่ศึกษาประกอบด้วย ระดับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมง การใช้ยาฉีดระงับความปวดที่ 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมง ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และค่ารักษาพยาบาลขณะเป็นผู้ป่วยใน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยการทดสอบ Chi-square และ t-test ที่ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนด้วยวิธียาชาเฉพาะที่ มีอายุเฉลี่ย 58.2 ปี และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนด้วยวิธีดมยาสลบ มีอายุเฉลี่ย 50.0 ปี ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมง ระยะเวลานอนในโรงพยาบาล และจำนวนผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีดแก้ปวดหลังผ่าตัด แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านค่ารักษาพยาบาลขณะเป็นผู้ป่วยใน (P=0.001)วิจารณ์และสรุป: การระงับความเจ็บปวดขณะผ่าตัดรักษาผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบด้วยวิธียาชาเฉพาะที่ได้ผลดีไม่แตกต่างจากวิธีดมยาสลบ แต่ควรใช้กับผู้ป่วยที่มีผนังหน้าท้องไม่หนาเกินไปและไม่มีภาวะแทรกซ้อนของไส้เลื่อนขาหนีบ
ที่มา
สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร ปี 2549, Januray-April ปีที่: 3 ฉบับที่ 1 หน้า 289-297
คำสำคัญ
General anesthesia, Local anesthesia, ไส้เลื่อนขาหนีบ, Indirect inguinal hernia, การระงับความรู้สึกด้วยยาดมสลบ, การระงับความรู้สึกด้วยาชาเฉพาะที่