ประสิทธิภาพของการฝึกออกกำลังกายด้วยตนเองเพื่อขจัดตะกอนเพื่อลดอาการเวียนศีรษะในผู้ป่วย benign paroxysmal positional vertigo ที่ posterior semicircular canal
ศรัญญู หรูปานวงษ์, อลงกต เอมะสิทธิ์, จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐDevision of Physical Therapy, Faculty of Associated Medical Science, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002; email: emas_0001@yahoo.com
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการฝึกการออกกำลังกายด้วยตนเอง เพื่อขจัดตะกอนต่ออาการเวียนศีรษะและการเกิดโรคซ้ำในผู้ป่วย benign paroxysmal positional vertigo ที่มีพยาธิสภาพที่ posterior semicircular canal (PC-BPPV) จำนวน 45 ราย จัดเข้ากลุ่มด้วยวิธีจับสลากแบ่งเป็นกลุ่มที่ฝึกออกกำลังกายด้วยตนเองเพื่อขจัดตะกอน หรือกลุ่มทดลอง 26 ราย อายุเฉลี่ย 50.35 ± 9.88 ปี และกลุ่มที่ฝึกออกกำลังกายที่ประยุกต์มาจาก Cawthorne-Cooksey exercise หรือกลุ่มควบคุม 19 ราย อายุเฉลี่ย 57.11 ± 8.00 ปี ในครั้งแรกที่มาพบ อาสาสมัครทุกคนได้รับการรักษาโดยวิธี modified canalith repositioning procedure 1 ครั้ง จากนั้นได้รับการประเมินระดับความรุนแรงของอาการเวียนศีรษะ โดย visual analog scale (VAS) และผลกระทบของอาการเวียนศีรษะต่อการทำกิจกรรมด้วยแบบสอบถาม Dizziness Handicap Inventory (DHI) โดยแต่ละกลุ่มฝึกท่าละ 3 ครั้งต่อวัน ทุกวัน และประเมินซ้ำ ณ สัปดาห์ที่ 1 และ 4 วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ χ 2 เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของอาสาสมัครที่มีผลการทดสอบ Dix-Hallpike maneuver (DHP) เป็นลบ และ two-way analysis of variance เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่า VAS และDHI ก่อนและหลังการรักษา ภายในและระหว่างกลุ่มผลพบว่า ที่ 1 สัปดาห์ อาสาสมัครร้อยละ 94.74 (18/19) ในกลุ่มทดลองหายจาก BPPV เปรียบเทียบกับอาสาสมัครร้อยละ 64.71 (11/17) ในกลุ่มควบคุม (p<0.05) และที่ 4 สัปดาห์ พบว่าสัดส่วนของอาสาสมัครที่หายจากโรคไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม (p>0.05) และไม่มีอาสาสมัครที่หายแล้วกลับมาเป็นซ้ำ ค่า VAS และ DHI ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม (p>0.05) ที่ก่อนการรักษา และที่ 1 และ 4 สัปดาห์ แต่ค่า VAS และDHI ของอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 1 และ 4 สัปดาห์ (p<0.05) สรุปได้ว่า การเพิ่มการฝึกการออกกำลังกายด้วยตนเอง เพื่อขจัดตะกอนช่วยให้ผู้ป่วย PC-BPPV หายเร็วขึ้น และป้องกันการเกิดซ้ำได้ดีกว่าการรักษาด้วย modified canalith repositioningprocedure เพียงอย่างเดียว
ที่มา
วารสารกายภาพบำบัด ปี 2552, September-December
ปีที่: 31 ฉบับที่ 3 หน้า 93-103
คำสำคัญ
Benign paroxysmal positional vertigo, BPPV, Canalith repositioning maneuver, Epley’s maneuver, Self-canalith repositioning exercise