ประสิทธิผลของการใช้อุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อน่องต่อความถี่และระยะเวลาในการยืดกล้ามเนื้อน่อง
กุลภา ศรีสวัสด์ิ, นวพร ชัชวาลพาณิชย์*, อัจฉรา สุวรรณนาคินทร์
Department of Rehabilitation, Medicine, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Bangkoknoi, Bangkok 10700, Thailand; Phone: 0-2419-7508, Fax: 0-2411-4813; E-mail: drnavaporn@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์หลัก: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้อุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อน่องในแง่ของการเพิ่มการใช้ (compliance) ในการยืดกล้ามเนื้อน่องเทียบกับการยืดกล้ามเนื้อน่องแบบเดิมวัตถุประสงค์รอง: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้อุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อน่องในการลดอาการ กล้ามเนื้อน่องตึง และลดผลแทรกซ้อนจากการยืดกล้ามเนื้อเทียบกับการยืดกล้ามเนื้อน่องแบบเดิมรูปแบบการศึกษา: การศึกษาโดยการสุ่มและมีกลุ่มเปรียบเทียบสถานที่ทำการศึกษา: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราชกลุ่มประชากร: ผู้ที่มีกล้ามเนื้อน่องตึง อายุ 45 ปีขึ้นไป จำนวน 80 คนวัสดุและวีธีการ: สุ่มเลือกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มควบคุม ยืดกล้ามเนื้อน่องแบบเดิม โดยให้ผู้ป่วยยืนหันหน้าเข้าหากำแพง ใช้มือประคองไว้กับกำแพงเพื่อช่วยทรงตัว วางเท้าที่ต้องการยืดกล้ามเนื้อน่องไว้ด้านหลัง งอเข่าด้านหน้าลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยขาด้านหลังตึง ส้นเท้าชิดพื้นตลอดเวลา กลุ่มทดลองยืดกล้ามเนื้อโดยการใช้อุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อน่อง โดยให้ผู้ป่วยวางเท้าพาดกับอุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อน่อง โดยให้ขอบของอุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อน่อง อยู่ประมาณ proximal ต่อแนว metatarsal bone เหยียดเข่าตึง แล้วโน้มตัวมาข้างหน้าจนรู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อน่องโดยแจ้งผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ให้ยืดกล้ามเนื้ออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีการบันทึกความถี่ (ต่อวัน) และระยะเวลาในการยืดกล้ามเนื้อ (วินาทีต่อครั้ง) รวมทั้งอาการแทรกซ้อนจากการยืดกล้ามเนื้อในสมุดบันทึกทุกวันผลการศีกษา: มีผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาจนจบจำนวน 76 คน เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมอย่างละ 38 คน ทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลพื้นฐานใกล้เคียงกัน กลุ่มทดลองมีความถี่ และระยะเวลาในการยืดกล้ามเนื้อน่องมากกว่ากลุ่มควบคุม และมีอาการแทรกซ้อนจากการยืดกล้ามเนื้อ (อาการปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดหลังบริเวณเอว และปวดน่อง) น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงของจำนวน taut band, trigger point, tender point และพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเท้าระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมสรุป: การยืดกล้ามเนื้อน่องโดยการใช้อุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อน่อง สามารถเพิ่มความถี่ และระยะเวลาในการยืดกล้ามเนื้อน่อง ลดอาการกล้ามเนื้อน่องตึง และลดอาการแทรกซ้อนจากการยืดกล้ามเนื้อเมื่อเทียบกับการยืดกล้ามเนื้อน่องแบบเดิม
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2553, December ปีที่: 93 ฉบับที่ 12 หน้า 1470-1479
คำสำคัญ
Compliance, Calf muscle, Calf stretching box, Gastrosoleus muscle, stretching