การปรับตัวทางเพศและความสัมพันธ์กับคู่ในมุมของคู่ชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่เขา้ รับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
รัชวรรณ สุขเสถียร*, เยาวลักษณ์ ไชยพันธ์
Department of Rehabilitation Medicine, Maharat Nakhon Ratchasima Hospital, Nakhon Ratchasima, 30000; E-mail: rsuksathien@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการปรับตัวทางเพศ ความสัมพันธ์ กับคู่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางเพศและความพึงพอใจของคู่ชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังรูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางสถานที่ทำการวิจัย: ห้องตรวจผู้ป่วยนอกและ หอผู้ป่วยเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมากลุ่มประชากร: คู่ชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจำนวน 28 รายเป็นชาย 6 ราย หญิง 22 ราย ที่มีประวัติเจ็บป่วยไม่น้อยกว่า 6 เดือนและยังใช้ชีวิตคู่ ที่เข้ารับการรักษาที่กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 – 30 มิถุนายน 2552วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป กิจกรรมทางเพศและความพึงพอใจ สมรรถภาพทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจและสังคม ความสัมพันธ์กับคู่ และประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) ส่วนรายละเอียดของการบาดเจ็บไขสันหลัง ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลระบบปัสสาวะรวบรวมจากการประเมินของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผลการศึกษา: ร้อยละ 96 เป็นผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ร้อยละ 44.4 ไม่มีกิจกรรมทางเพศภายหลังการเจ็บป่วยของคู่ชีวิต มีเพียงร้อยละ 25.9 ที่มีกิจกรรมทางเพศอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กลุ่มศึกษา ร้อยละ 29.2 มีเพศสัมพันธ์ ส่วนร้อยละ 70.8 แสดงออกซึ่งความรักโดยวิธีอื่นร้อยละ 92.3 มีความต้องการทางเพศลดลง ร้อยละ 50 ไม่เคยถึงจุดสุดยอด ร้อยละ 90 รายงานว่าผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังมีปัญหาอวัยวะเพศชายแข็งตัว ในขณะที่ผู้ป่วยหญิงมีปัญหาน้ำหล่อลื่นช่องคลอดเพียงร้อยละ 25 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75) คิดว่าผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังมีเสน่ห์ดึงดูดทางเพศลดลงภายหลังการบาดเจ็บ ร้อยละ 37 คิดว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องสำคัญในชีวิต ร้อยละ 46.4 ที่คำนึงถึงความสุขทางเพศของคู่ และร้อยละ 39.3 คิดว่าคู่มีความสุขในการมีกิจกรรมทางเพศ อย่างไรก็ตามร้อยละ 57.7 พอใจกับความสัมพันธ์ทางเพศและร้อยละ 88.9 พอใจกับความสัมพันธ์โดยรวม ร้อยละ 76.9 สามารถพูดคุยเรื่องเพศกับคู่ได้ มีเพียงร้อยละ 20 ที่มีความคิดหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ กลุ่มศึกษามีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับกลาง ๆ ทั้งคะแนนรวมและแยกตามองค์ประกอบสรุป: คู่ชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังส่วนใหญ่มีปัญหาการปรับตัวและกิจกรรมทางเพศ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ทางเพศและความสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในเกณฑ์พอใจ กลุ่มศึกษาส่วนใหญ่คิดว่าเรื่องเพศมีความสำคัญน้อย
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2553, September ปีที่: 20 ฉบับที่ 3 หน้า 76-81
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, บาดเจ็บไขสันหลัง, Marriage, Sexual behavior, Spinal cord injuries, Spouses, กิจกรรมทางเพศ, ชีวิตคู่, พฤติกรรมทางเพศ