การศึกษานำร่องผลของความถี่ในการให้ข้อมูลป้อนกลับต่อการลงน้ำหนักในขณะยืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
พรรธิภา มูลดี, สาวิตรี วันเพ็ญ*, อลงกต เอมะสิทธิ์
Department of Physical Therapy, Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University; E-mail: wanpen03@hotmail.com
บทคัดย่อ
                ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลของความถี่ในการให้ข้อมูลป้อนกลับต่อการลงนํ้าหนักในขณะยืนของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจำนวน 18 คน แบ่งเข้ากลุ่ม 4 กลุ่มด้วยวิธีจับสลาก ได้แก่ กลุ่ม 0 % feedback (4 คน) 20 % feedback (4 คน) 50 % feedback (5 คน) และ 100 % feedback (5 คน) โดยภายหลังการฝึกกายภาพบำบัดประจำวันแล้ว ผู้ป่วยทุกคนได้รับการ ฝึกการกระจายนํ้าหนักบนเท้าในท่ายืนบนเครื่อง Balance Performance Monitor (BPM) เพิ่มเติม 10 ครั้งต่อวัน 5 วัน ต่อสัปดาห์ รวมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งในขณะฝึกยืนนี้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลป้อนกลับจากการมองสัญญาณไฟบนจอแสดงผล (visual feedback) การป้อนกลับจากคำสั่ง (verbal feedback) และการช่วยนำด้วยการสัมผัส (manual guidance) จากนัก กายภาพบำบัด ผู้ป่วยทุกกลุ่มได้รับการประเมินการลงนํ้าหนักในท่ายืน (body weight distribution) ก่อนการฝึกและ 1 วันหลัง การฝึก วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลพบว่าค่ามัธยฐานของค่าร้อยละของความแตกต่างของการลงนํ้าหนักในท่ายืนระหว่าง ก่อนและหลังการฝึกมีแนวโน้มที่จะลดลงมากในกลุ่ม 100 % และ 50 % feedback โดยมีค่าเท่ากับ 95.2 % (23.8 - 99.2) และ 72.2 % (32.0-96.2) ตามลำดับ ขณะที่กลุ่ม 20 % และ 0 % feedback มีค่าเท่ากับ 42.4 %(41.0 - 44.8) และ 41.1 % (26.1-83.3) ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ความถี่สูงน่าจะส่งผลดีต่อการลงนํ้าหนักในท่ายืนของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันได้ดีกว่าการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ความถี่ตํ่า เนื่องจากผู้ป่วยยังอยู่ ในระยะ acute และ subacute ซึ่งต้องการเรียนรู้ทักษะใหม่ การให้ข้อมูลป้อนกลับจากภายนอกจะช่วยเสริมข้อมูลป้อนกลับ จากภายในที่บกพร่องไป สรุปได้ว่าการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ความถี่สูงมีแนวโน้มที่จะทำให้การกระจายนํ้าหนักบนเท้าในท่ายืนดี ขึ้นมากกว่าการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ความถี่ตํ่า
ที่มา
วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ปี 2553, September-December ปีที่: 22 ฉบับที่ 3 หน้า 302-307
คำสำคัญ
Stroke, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, Feedback frequency, Standing balance, การทรงตัวในท่ายืน, ความถี่ของการป้อนกลับข้อมูล