ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการป้องกันการติดซ้ำของผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุรา
พิชัย แสงชาญชัย, วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี, สุกุมา แสงเดือนฉาย*, อรพินทร์ ชูชม
Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการป้องกันการติดซ้ำของผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุราวัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสุราที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน จำนวน 59 คน เป็นผู้ดื่มอย่างเป็นปัญหาและผู้ติดสุราที่ได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง (ผู้ดื่ม 10 คน ผู้ติด 20 คน) และกลุ่มควบคุม (ผู้ดื่ม 11 คน ผู้ติด 18 คน) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 10 กิจกรรม เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ประเมินผลการศึกษา 5 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และสิ้นสุดการทดลองในเดือนที่ 1, 2  และเดือนที่ 3 ด้วยแบบสอบถามความพร้อมที่จะป้องกันการติดซ้ำ และแบบบันทึกพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ MANCOVA และ Chi-squareผล: โปรแกรมการบำบัดมีผลไม่แตกต่างระหว่างผู้ป่วยที่ดื่มอย่างเป็นปัญหาและผู้ติดสุราในด้านความพร้อมในการป้องกันการติดซ้ำ หลังการทดลองเดือนที่ 1 และ 2 จำนวนผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีการติดซ้ำไม่แตกต่างกัน แต่ในเดือนที่ 3 กลุ่มทดลองมีการไม่ติดซ้ำมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญสรุป: การบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ทำให้ผู้ที่มีปัญหาการดื่มสุราและผู้ติดสุรามีความตั้งใจ และมีการรับรู้ความสามารถของตนในการป้องกันการติดซ้ำมากขึ้น และยังส่งผลดีต่อผู้ป่วยในการยืดระยะเวลาในการไม่ติดซ้ำให้ยาวนานขึ้นกว่าการบำบัดปกติของสถานบำบัด
ที่มา
วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปี 2554, January ปีที่: 19 ฉบับที่ 1 หน้า 29-41
คำสำคัญ
Alcohol, Social support, แรงสนับสนุนทางสังคม, Cognitive-behavioral therapy, Early relapse prevention, การบำบัดความคิดและพฤติกรรม, การป้องกันการติดซ้ำ, สุรา