การเลือกวิธีผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำจากภาวะหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร: การวิเคราะห์เชิงตัดสินใจ
Ongart Lertkajornsin, Panuwat Lertsithichai*
Department of Surgery, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand; Tel: 02-201-1315; E-mail: raplt@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาวิธีการผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำจากภาวะหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร 4 วิธี [distal splenorenal shunt (DSRS); portocaval shunt (PS); small diameter portocaval shunt (H-graft); non-shunt operation] โดยการวิเคราะห์เชิงตัดสินใจ (decision analysis) ด้วย quality adjusted life-years (QALY)วิธีการ: ค้นหาบทความวิชาการที่ดี พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษจาก MEDLINE คัดเลือกเพื่อนำมาวิเคราะห์โดยอาศัยข้อคัดเลือกเข้าและคัดเลือกออกที่กำหนดไว้ตามแบบจำลองของการวิเคราะห์เชิงตัดสินใจเป็น five-state Markov model เครื่องมือที่ใช้วัดคุณภาพชีวิตของแต่ละ state คือ Euro Quality of life scoring system ได้ทำการวิเคราะห์แบบ multi-way sensitivity analysis โดยเลือกค่า instantaneous transition probability 3 ประเภท (ที่กำหนดไว้ในแบบจำลอง) แบบสุ่มขึ้นมาพร้อมๆ กัน ผลการวิเคราะห์: คัดเลือกบทความทางวิชาการ 21 รายงานจากจำนวนทั้งหมด 46 รายงาน (ร้อยละ 46) ที่มีคุณสมบัติตามข้อคัดเลือกเข้า และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี ค.ศ.1984 ถึง ค.ศ.2000 พบว่าวิธีการผ่าตัดแบบ non-shunt มีค่า QALY สูงสุด (11.9) ค่า QALY ของวิธีผ่าตัดแบบ H-graft ต่ำกว่าเพียงเล็กน้อย (10.8) ค่า QALY ของ DSRS (8.5) และวิธีผ่าตัดแบบ PS มีค่า QALY ต่ำสุด (6.5) ผลการศึกษา sensitivity analysis ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การเปรียบเทียบค่า QALY ของวิธีผ่าตัด 4 ชนิด พบว่าวิธีการผ่าตัดแบบ non-shunt และ H-graft น่าจะเหมาะสมที่สุดสำหรับการป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำจากภาวะหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร
ที่มา
รามาธิบดีเวชสาร ปี 2547, ปีที่: 27 ฉบับที่ หน้า 143-155
คำสำคัญ
Decision analysis, Operation, Recurrent, Variceal hemorrhage, การวิเคราะห์เชิงตัดสินใจ, การเกิดซ้ำ, วิธีผ่าตัด, เลือดออกจากหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร