ประสิทธิภาพของยา Tamsulosin ในการรักษานิ่วท่อไตส่วนล่างที่โรงพยาบาลนครพนม
แสงโรจน์ ร่วมเจริญ
กลุ่มงานศัลยฏรรม โรงพยาบาลนครพนม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ µ-1 adrenergic antagonist tamsulosin ในการขับนิ่วบริเวณท่อไตส่วนล่างรูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า (Prospective study) วิธีการ: นำผู้ป่วย 80 คน ที่เป็นนิ่วบริเวณท่อไตส่วนล่างที่มีอาการเจ็บปวดมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ทานยา drotaverine 40 mg สามเวลาทุกวัน กลุ่มที่ 2 ให้ทานยา serratiopeptidase 15 mg ต่อวัน นาน 10 วัน และ contrimoxazole เช้า-เย็น นาน 8 วัน และฉีดยา diclofenac 75 mg เข้ากล้ามตามความต้องการของผู้ป่วย ทุกรายจะถูกติดตามผลโดยตรวจ ultrasound และตรวจเยี่ยมทุกสัปดาห์ นาน 4 สัปดาห์ เพื่อประเมินอัตราการหลุดของนิ่ว การที่ต้องใช้ยาระงับโรค และอัตราการที่ต้องรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยใน ประเมินผลโดยวิชาสถิติ student t testผลการศึกษา: กลุ่ม 1 นิ่วหลุด 70% กลุ่ม 2 นิ่วหลุด 100% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของนิ่วคือ 5.8 มม และ 6.7 มม. ตามลำดับ (p = 0.001) ระยะเวลาเฉลี่ยในการหลุดของนิ่วคือ 110 ชม.  สำหรับกลุ่ม 1 และ 63.5 ซม. สำหรับกลุ่ม 2 (p < 0.020) จำนวนครั้งเฉลี่ยในการฉีด diclofenac คือ 2.82 ครั้ง สำหรับกลุ่ม 1 และ 0.13 ครั้ง สำหรับกลุ่ม 2 (p < 0.0001) 12 รายในกลุ่ม 1 ต้องรับตัวไว้ในโรงพยาบาล 10 ใน 12 ราย ต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลศูนย์สรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี ในขณะที่กลุ่ม 2 ไม่มีรายใดที่ต้องรับตัวไว้ในโรงพยาบาลสรุป: การใช้ tamsulosin เป็น spasmolytic drug ในการรักษานิ่วบริเวณท่อไตส่วนล่าง สามารถลดความเจ็บปวดทรมาน ทำให้นิ่วหลุดเร็วขึ้น ลดอัตราการนอนรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2552, September-December ปีที่: 17 ฉบับที่ 3 หน้า 521-526
คำสำคัญ
pain, Tamsulosin, Colic, Juxtavesical calculi, Ureter