ผลการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยภายภาพบำบัดร่วมกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เพียงอย่างเดียว
ประจวบ มงคลศิริ
Section of Rehabilitation&Section of Orthopedics, Sukhothai Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยกายภาพบำบัดร่วมกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เพียงอย่างเดียววัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมอย่างน้อยหนึ่งข้าง ที่มีความรุนแรงจากลักษณะภายถ่ายทางรังสีตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 50 คน เป็นชาย 11 คน หญิง 39 คน สุ่มแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มละ 25 คน กลุ่มแรกได้รับการรักษาด้วยยา lbuprofen 1,200 มก./วัน เพียงอย่างเดียว กลุ่มหลังได้รับยา lbuprofen ในขนาดเดียวกัน ร่วมกับการให้โปรแกรมทางกายภาพบำบัดที่สมบูรณ์ครบถ้วน ได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบเข่า การยืดกล้ามเนื้อรอบเข่าและการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เข่าที่ถูกต้อง และทำการประเมินอาการปวดเข่าด้วย VAS, อาการฝืดดึงของเข่า และ Physical function ด้วย Modified WOMAC scaleผลการศึกษา: อาการปวดเข่า อาการฝืดดึงของเข่า และค่า Modified WOMAC scores ลดลงในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 1 และ 2 ของการรักษา โดยกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมทางกายภาพบำบัดร่วมด้วยมีการลดลงของตัวแปรดังกล่าว มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 2สรุป: การรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยกายภาพบำบัดร่วมกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ได้ผลดีกว่าการรักษาโดยการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 1 ปี 2544, September-December ปีที่: 3 ฉบับที่ 3 หน้า 137-145