การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาภาวะข้อไหล่ติดแข็ง โดยการใช้เทคนิค Passive Streatching กับ Elastic Exercise
ชนันท์กานต์ แป้นสวน
Department of Rehabilitation, Phanakornsriayutthaya Hospital, Phanakornsriayutthaya province
บทคัดย่อ
                ข้อไหล่นับว่าเป็นข้อต่อที่เป็นส่วนสำคัญในการทำกิจกรรมของแขนและมือและเป็นส่วนสำคัญในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่สำคัญที่สุด การศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงช่วงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในการรักษาผู้ป่วยข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen Shoulder) ด้วยวิธีการ Elastic exercise (เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อโดยการใช้ยางยืด) และ Passive stretching (เป็นการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อโดยผู้อื่นทำให้) โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน เลือกโดยวิธีการสุ่ม เป็นเพศชาย 28 คน และเพศหญิง 32 คน มีช่วงอายุระหว่าง 40-63 ปี อายุเฉลี่ย 52.90 ปี ผู้ป่วยกลุ่มแรกได้รับการรักษาด้วย Passive stretching ผู้ป่วยกลุ่มที่สองได้รับการรักษาด้วย Elastic exercise ทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษาเป็นเวลา 10 วัน โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการวัด ช่วงองศาการเคลื่อนไหวแบบ Passive range of motion ในทุกทิศทางโดยการบันทึกจะบันทึกในวันแรก วันที่ 5 และวันที่ 10 ทั้งก่อนและหลังของการรักษา และนำค่าแตกต่างของมุมการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ในทุกทิศทางมาเปรียบเทียบหาความแตกต่าง พบว่าการรักษาทั้งสองกลุ่มมีช่วงการเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < 0.05) และยังพบว่า การรักษาด้วย Elastic exercise มีช่วงการเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นมากกว่า Passive stretching อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < 0.05) ดังนั้น การรักษาด้วย Elastic exercise จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยข้อไหลติดแข็งและผู้ป่วยสามารถนำกลับไปใช้ เป็นการรักษาด้วยตนเองที่บ้านได้
ที่มา
วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4 ปี 2552, January-April ปีที่: 11 ฉบับที่ 1 หน้า 115-120