ประสิทธิผลของการส่องไฟแบบความเข้มแสงสูงสองด้านพร้อมกันในทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ร่วมกับภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD
กรรณิการ์ บูรณวนิช, พนิดา ฮอหรินทร์, พยนต์ บุญญฤทธิพงษ์*, มนูธรรม มานวธงชัย
Deaprtment of Pediatrics, BMA Medical College and Vajira Hospital, Bangkok
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลและผลกระทบที่สำคัญของการส่องไฟแบบความเข้มสูง 2 ด้านพร้อมกัน เปรียบเทียบกับการส่องไฟแบบความเข้มแสงสูงด้านเดียว ในทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ร่วมกับภาวะพร่องเอนไซม์ G6PDรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่าง: ทารกแรกเกิดครบกำหนดในวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2549 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2550 มีมารดามีอายุครรภ์ระหว่าง 37-42 สัปดาห์ มีน้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่ 2,500 กรัมขึ้นไป ไม่มีภาวะขาดออกซิเจนเมื่อแรกเกิด (คะแนนเอพการ์ที่ 1 และ 5 นาที มากกว่า 6) มีภาวะตัวเหลือง ระดับสารบิลิรูบินตั้งแต่ 13.0-19.9 มก./ดล. ร่วมกับมีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD โดยไม่มีสาเหตุจากกลุ่มเลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากันหรือเม็ดเลือดแดงผิดรูปแต่กำเนิดและต้องได้รับนมแม่แต่เพียงอย่างเดียว จำนวนทั้งสิ้น 45 รายวิธีดำเนินการวิจัย: เลือกตัวอย่างตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุม 23 ราย ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟแบบความเข้มแสงสูงด้านเดียว กลุ่มศึกษา 22 ราย ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟแบบความเข้มแสงสูง 2 ด้านพร้อมกัน เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของสารบิลิรูบินในเลือดหลังการรักษาตัววัดที่สำคัญ: ปริมาณสารบิลิรูบินในเลือดที่เปลี่ยนแปลงใน 12, 24, 36 และ 48 ชั่วโมงหลังได้รับการส่องไฟ และผลกระทบจากการส่องไฟ เช่น อุณหภูมิกาย น้ำหนัก จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ หลังได้รับการส่องไฟ 24 และ 48 ชั่วโมงผลการวิจัย: ปัจจัยพื้นฐานก่อนการรักษา เช่น น้ำหนักแรกเกิด คะแนนแอพการ์ที่ 1 และ 5 นาที อายุครรภ์ ฮีมาโทคริด เม็ดเลือดแดงตัวอ่อนในทารก 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นอายุเฉลี่ยที่เริ่มส่องไฟในกลุ่มควบคุมน้อยกว่ากลุ่มศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 53.7 ± 16.7 และ 62.7 ± 9.8 ชั่วโมง ระดับสารบิลิรูบินเมื่อเริ่มส่องไฟในกลุ่มศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 16.3 ± 2.0 และ 15.1 ± 1.7 มก./ดล. หลังการส่องไฟ 12, 24, 36 และ 48 ชั่วโมง ระดับสารบิลิรูบินในเลือดในกลุ่มศึกษาลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 2.9 ± 1.3, 5.4 ± 1.6, 7.1 ± 1.8, 7.5 ± 1.8 มก./ดล. หรือร้อยละ 17.8 ± 6.9, 33.0 ± 8.3, 43.0 ± 7.8, 45.7 ± 6.9 ตามลำดับ ในกลุ่มศึกษา และ 1.2 ± 0.8, 2.5 ± 1.5, 3.7 ± 1.6, 4.9 ± 1.5 มก./ดล. หรือร้อยละ 8.1 ± 4.9, 16.4 ± 8.4, 24.4 ± 9.9, 32.4 ± 9.7 ตามลำดับในกลุ่มควบคุม ผลกระทบที่พบจากการส่องไฟ 24 ชั่วโมง คือ อุณหภูมิภายในกลุ่มศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ไม่มีนัยสำคัญทางคลินิก และ 37.0 ± 0.2 องศาเซลเซียส) และน้ำหนักในกลุ่มควบคุมลดลงมากกว่ากลุ่มศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2.4 ±1.7 และ ร้อยละ 1.6 ± 0.4) ส่วนความแตกต่างของจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระในทั้ง 2 กลุ่มตลอดระยะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การส่องไฟแบบความเข้มแสงสูง 2 ด้านพร้อมกัน ในการรักษาทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ร่วมกับภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ในการลดระดับสารบิลิรูบินในเลือด หลังการรักษา 12, 24, 36 และ 48 ชั่วโมง ได้ดีกว่าการส่องไฟแบบความเข้มแสงสูงด้านเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2553, May-August ปีที่: 54 ฉบับที่ 2 หน้า 123-133
คำสำคัญ
Single-surface intensive phototherapy (SsIPT), Double-surface intensive phototherapy (DsIPT), G6PD deficiency, Unconjugated hyperbilirubinemia