การศึกษาเปรียบเทียบการป้องกันอาการคันจากการใส่เฝือกระหว่างคาลามายด์โลชั่นและแป้งฝุ่น : การศึกษาแบบ randomized controlled trial
ชานินทร์ บุญตั้งใจ, บุญสิน ตั้งตระกูลวนิช*
Department of Orthopaedic Surgery, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand. E-mail: boonsin.b@psu.ac.th
บทคัดย่อ
จุดประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการป้องกันอาการคันจากการใส่เฝือกระหว่างแป้งฝุ่นและคาลาไมน์โลชั่นในผู้ป่วยกระดูกเรเดียสส่วนปลายหักที่รักษาด้วยการใส่เฝือกแขนสั้นวัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยกระดูกเรเดียสส่วนปลายหักอายุระหว่าง 15 ถึง 80 ปีที่เข้ารักษาที่แผนกฉุกเฉิน รพ.สงขลานครินทร์ ได้รับเชิญเข้าร่วมการศึกษา แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีสุ่มได้แก่ แป้งฝุ่น และคาลาไมน์โลชั่น ก่อนทาการการรักษาโดยการจัดเรียงกระดูกและใส่เฝือกแขนสั้นประมาณ 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยทุกคนได้รับยาแก้ปวดและยาลดอาการคันกลับบ้าน แพทย์นัดติดตามการรักษา สัปดาห์ที่ 1 , 2 และ 4 ผู้ป่วยได้รับหนังสือบันทึกอาการคัน โดยผู้ป่วยรายงานระดับอาการคัน (คะแนน 0-10) ทุกวันขณะใส่เผือก แพทย์ตรวจสอบสภาพผิวหนังบริเวณใต้เฝือกเมื่อผู้ป่วยได้รับการถอดเฝือก และผู้ป่วยประเมินระดับความพึงพอใจผลการรักษาเมื่อสิ้นสุดการรักษาผลการศึกษา: มีผู้ป่วย เข้าร่วมในการศึกษานี้ 34 รายโดย 19 รายอยู่ในกลุ่มแป้งฝุ่นและ 15 รายอยู่ในกลุ่มคาลาไมน์โลชั่น สาเหตุของอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการหกล้มหรืออุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ ไม่มีผู้ป่วยรายใดขาดการติดตามในการศึกษา ผลคะแนนเฉลี่ยระดับอาการคันของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มดีขึ้นหลังได้รับการทาแป้งฝุ่นและคาลาไมน์โลชั่น แต่ระดับคะแนนความคันเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มคาลาไมน์โลชั่นดีกว่ากลุ่มแป้งฝุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่วันที่ 28 หลังการรักษา อย่างไรก็ดีปริมาณการใช้ยาเพื่อลดอาการคันและความพึงพอใจต่อการรักษาทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: คาลาไมน์โลชั่นป้องกันอาการคันได้ดีกว่าแป้งฝุ่นในผู้ป่วยกระดูกเรเดียสส่วนปลายหักที่ได้รับการรักษาด้วยเฝือกแขนสั้น
ที่มา
วารสารราชวิทยาลัยแพทย์ออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ปี 2553, July ปีที่: 34 ฉบับที่ 4 หน้า P20-P24
คำสำคัญ
pruritus, Calamine lotion, Cast, Talcum powder