ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยอาหารไม่ย่อยในร้านยา
จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป*, พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี, ภัทรพงศ์ อุตรินทร์
Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University, Kantarawichai, Mahasarakham, 44150. Tel. +66 4375 4360 Fax. +66 4375 4360 E-mail: juntipok@msu.ac.th
บทคัดย่อ
                การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยอาหารไม่ย่อย ในร้านยาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดมหาสารคาม ศึกษาเปรียบเทียบความรุนแรงและความถี่ของการกำเริบของอาหารไม่ย่อย คะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย และคะแนนคุณภาพชีวิต ระหว่างกลุ่มทดลอง (ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม) และกลุ่มควบคุม (ได้รับการบริการจากร้านยาตามปกติ) ในระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 มีผู้ร่วมการศึกษาทั้งหมด 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย เช่น เพศ อายุ วุฒิการศึกษา เป็นต้น ไม่แตกต่างกัน ก่อนการบริบาลทางเภสัชกรรมหรือการได้รับการบริการจากร้านยาพบปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยามากที่สุด (กลุ่มทดลองพบร้อยละ 81.3 และกลุ่มควบคุมพบร้อยละ 90.0) และหลังการบริบาลทางเภสัชกรรมพบปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยามากที่สุด (กลุ่มทดลองพบร้อยละ 43.8 และกลุ่มควบคุมพบร้อยละ 93.3) จากการศึกษาในกลุ่มทดลอง พบว่าหลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมมีความรุนแรงและความถี่ของการกำเริบของอาหารไม่ย่อยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) หลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารไม่ย่อยและคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
ที่มา
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปี 2553, January-April ปีที่: 6 ฉบับที่ 1 หน้า 15-25
คำสำคัญ
Severity, ความรุนแรง, Pharmaceutical care, การบริบาลทางเภสัชกรรม, ร้านยา, Dyspepsia, Community pharmacy, Frequency, ความถี่, อาหารไม่ย่อย