ขนาดของยา Succinylcholine ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุม Motor Seizure ในผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วย การทำให้ชักด้วยการผ่านกระแสไฟฟ้าในโรงพยาบาลศรีนครินทร์: การศึกษาแบบ Randomized Controlled Trial
กาญจนา อุปปัญ, พิกุล มะลาไสย์, รวิวรรณ อ่องอ่อน, วราภรณ์ เชื้ออินทร์*, สุชาติ พหลภาคย์
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยการผ่านกระแสไฟฟ้า (electroconvulsive therapy, ECT) เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยจิตเวชเป็นการทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปชักด้วยการผ่านกระแสไฟฟ้า การให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ succinylcholine ก่อนการผ่านกระแสไฟฟ้ามีวัตถุประสงค์เพื่อปรับหรือลดความแรงของการชัก แนวทางของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ให้ใช้ยา succinylcholine ขนาด 1.3 มก./กก. เพื่อพิสูจน์ว่ายา succinylcholine ในขนาดที่น้อยกว่านี้ก็มีประสิทธิภาพ การศึกษานี้จึงเปรียบเทียบความรุนแรงของ motor convulsion ที่ได้จากยา succinylcholine ระหว่างขนาด 1.0 มก./กก. กับ 1.3 มก./กก.วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบ motor seizure modification ใน ECT ที่เกิดจากยา succinylcholine ขนาด 1.0 มก./กก. กับที่เกิดจากขนาด 1.3 มก./กก. การออกแบบการศึกษา เป็นการศึกษาแบบสุ่ม ควบคุม ไปข้างหน้าวิธีการศึกษา: ศึกษาระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ.2549 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2550 ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วย ECT ที่ยินดีและให้คำยินยอมเข้าร่วมกับโครงการวิจัยมี 21 คน ECT แต่ละครั้งจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มด้วยวิธีสุ่มโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสองกลุ่ม กลุ่ม A ได้รับยา succinylcholine ขนาด 1.0 มก./กก. กลุ่ม B 1.3 มก./กก. การประเมินความรุนแรงของ motor seizure อาศัยคะแนน motor seizure modification ซึ่งมี 5 ระดับและได้จากผู้ให้คะแนน 2 คน ที่เป็นอิสระแก่กัน ผู้ให้คะแนนให้คะแนนด้วยความเชื่อถือได้ระดับเกือบสมบูรณ์ (kappa = 0.88)ผลการศึกษา: motor seizure modification ในกลุ่ม A และกลุ่ม B อยู่ในระดับดีร้อยละ 74.6 และ 84.6 ของการทำ ECT ตามลำดับ ได้คะแนนระดับแย่ร้อยละ 25.4 และ 15.4 ตามลำดับ ค่า motor seizure modification แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ค่า sodium, potassium, CPK, SGOT, calcium, LDH ในเลือดก่อนและหลังทำ ECT แตกต่างกันระหว่างกลุ่มอย่างไม่มีนัยสำคัญสรุป: succinylcholine ขนาด 1.0 มก./กก. และ 1.3 มก./กก ทำให้ความรุนแรงของ motor convulsion intensity ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นเพื่อลดปริมาณยาที่มากเกินความจำเป็นและลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาจึงควรเริ่มใช้ยานี้ในขนาด 1.0 มก./กก.
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2553, July-September ปีที่: 55 ฉบับที่ 3 หน้า 279-286
คำสำคัญ
Electroconvulsive therapy, Motor seizure modification, Muscle injury, Succinylcholine