คุณภาพชีวิตและปัญหาการนอนหลับของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร, ประวีณ โลห์เลขา*
Department of Internal Medicine, Faculty of Medicine, Thammasat University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาการนอนหลับและคุณภาพชีวิตวัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาภาคตัดขวางในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน 74 คน ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ปัญหาการนอนหลับและระดับคุณภาพชีวิตวัดจากแบบสอบถามความผิดปกติของการนอนหลับฉบับปรับปรุงและแบบสอบถามคุณภาพชีวิตพาร์กินสันฉบับ 8 ข้อผลการศึกษา: พบปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันร้อยละ 97 โดยปัญหาปวดปัสสาวะกลางดึก ปัญหานอนไม่หลับที่ตรวจพบจากแบบสอบถามความผิดปรกติของการนอนหลับฉบับปรับปรุงมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคะแนนจากแบบสอบถามคุณภาพชีวิตฉบับ 8 ข้อ (ค่าพี < 0.001, r = -0.52) ปัญหายาหมดฤทธิ์ก่อนเวลา (ค่าพี = 0.0044, r = -0.23) และความสามารถในการทำงานของผู้ป่วย (ค่าพี = 0.012, r = 0.29)สรุป: ปัญหาการนอนหลับพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และมีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิต การเพิ่มคุณภาพการนอนหลับและรักษาอาการที่นอกเหนือจากอาการทางการเคลื่อนไหวควรเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
ที่มา
ธรรมศาสตร์เวชสาร ปี 2553, April-June ปีที่: 10 ฉบับที่ 2 หน้า 165-174
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Parkinson's disease, Sleep disorders, ปัญหาการนอนหลับ, โรคพาร์กินสัน