ผลการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชนต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
กันยาลักษณ์ เตชะพงศ์วรชัย*, จินตนา ยูนิพันธุ์
ศูนย์บริการสาธารณสุข 25 ห้วยขวาง สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
          การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุก่อนและหลังการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชน และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกลุ่มที่ได้รับการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชนกับกลุ่มที่ได้รับบริการสุขภาพตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ชุมชนที่มีลักษณะชุมชนตามเกณฑ์และตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน คัดเลือกผู้สูงอายุที่มีลักษณะตามเกณฑ์ชุมชนละ 20 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายให้ชุมชนหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการชุมชนสุขภาพในชุมชน และคู่มือการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เครื่องมือกำกับการทดลองคือ แบบตรวจสอบการทำงานของพันธมิตร เป็นแบบตรวจสอบด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลกฉบับย่อ (WHOQOL-Brief) ซึ่งได้ผ่านการทอดสอบความเที่ยงด้วยวิธีของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .85 วิเคราะห์ผลการวิจัย โดยการใช้สถิติทดสอบที (t-test)                ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้                1. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหลังการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชน                2. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ได้รับรูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชนสูงกว่าคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ได้รับการบริการสุขภาพตามปกติ
ที่มา
วารสารวิจัยทางการพยาบาล ปี 2548, July-September ปีที่: 54 ฉบับที่ 3 หน้า 197-209
คำสำคัญ
Quality of life, elderly, Community, Alliance model